. . . 1.ความยินยอม เป็นฐานในการประมวลผลได้เฉพาะในกรณีที่เจ้าของข้อมูลได้สมัครใจ “เลือก” ที่ จะยินยอมให้ผู้ควบคุมข้อมูลประมวลผลได้ เช่น ในการสมัครใช้บัตรเครดิตสถาบันการเงินขอความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลบางประการให้บุคคลที่สามโดยแยกกระดาษที่ให้ลูกค้าเซ็นยินยอมออกมาจากเงื่อนไขการใช้บริการบัตรเครดิต และแจ้งว่าลูกค้าสามารถไม่เซ็นยินยอมในส่วนนี้โดยที่ยังสมัครใช้บัตรเครดิตได้อยู่ . 2.จดหมายเหตุ/วิจัย/สถิติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ . 3.ระงับอันตรายต่อชีวิต/ร่างกาย/สุขภาพ เช่น โรงพยาบาลหนึ่งเปิดเผยประวัติสุขภาพต่ออีกโรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วนและหมดสติ . 4.สัญญา เช่น การตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลก่อนการเปิดบัญชีหรือยื่นกู้เงินจากธนาคาร หากใช้สัญญาดังกล่าวเป็นฐานในการประมวลผลแล้วก็ไม่ต้องขอความยินยอมเพิ่มเติม . 5.ภารกิจสาธารณะ/อำนาจรัฐ เช่น กรมสรรพากรคิดคำนวณข้อมูลเงินเดือนของลูกจ้างเพื่อตรวจสอบการรายการรายได้รายจ่ายที่กิจการนั้น ๆ ยื่น . 6.ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น โรงแรมเก็บข้อมูลการเข้าออกห้องพักของผู้เข้าพักและพนักงานผ่านการใช้คีย์การ์ด เพื่อบริหารจัดการในกรณีที่เกิดข้อพิพาทหรือต้องสอบสวนพนักงาน การเก็บข้อมูลนี้เป็นการเก็บชั่วคราวและจะถูกลบออกภายในเวลา 30 วัน ข้อมูลเชิงสถิติอาจนำไปใช้เพื่อปรับปรุงการให้บริการในอนาคตได้ . 7.ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่นนายจ้างเปิดเผยข้อมูลเงินเดือนของลูกจ้างต่อกรมสรรพากรเพื่อแจกแจงรายละเอียดในการคำนวณรายได้รายจ่ายของกิจการตามมาตรา 65 ประมวลรัษฎากร
ที่มา : TDPG 2.0
PrivacyNote ให้คำปรึกษาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความมั่นคงปลอดภัยตามกฎหมาย PDPA โดยที่ปรึกษามืออาชีพ
Line : https://lin.ee/NHIYt0k 081-714-6016
留言