top of page

🤖 AI กับการกำกับดูแลจากมนุษย์: จำเป็นแค่ไหน?

  • รูปภาพนักเขียน: ดร.นิพนธ์ นาชิน, CISSP, CISA, CISM, GPEN, QSA, CCISO, CDMP
    ดร.นิพนธ์ นาชิน, CISSP, CISA, CISM, GPEN, QSA, CCISO, CDMP
  • 1 เม.ย. 2567
  • ยาว 1 นาที



แม้หลายองค์กรจะใช้ AI มาช่วยคัดกรองข้อมูลส่วนบุคคลหรืออำนวยความสะดวกด้านธุรกิจ แต่บางกระบวนการก็ยังควรมีมนุษย์เข้ามาควบคุมดูแล ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายหลายแห่งกำหนดให้กระบวนการตัดสินใจสำคัญบางอย่าง ต้อง มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

แต่...อย่าเข้าใจผิดว่าเราสามารถเรียกร้องให้ ทุกๆ ฟังก์ชันอัตโนมัติมีทางเลือกได้เสมอไป เช่น หากเรายื่นขอสินเชื่อ เราอาจไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธการคัดกรองเบื้องต้นจาก AI แต่อาจจะได้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ผลลัพธ์ต่อมนุษย์อีกทีหนึ่ง

การดูแล AI มี 2 แบบหลักๆ:

  • กำกับตัวโปรแกรม AI: เป็นแนวทางที่ดี (และบางครั้งเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย) ในการตรวจสอบโปรแกรม AI ที่ส่งผลต่อสิทธิของเรา จำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยง สอดส่อง เฝ้าระวัง และทดสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ

  • เลือกไม่ใช้หรือหาทางเลี่ยง AI: หลายคนไม่สะดวกใจกับระบบ AI ดังนั้นหากเป็นไปได้ การมีทางเลือกที่ไม่ใช้ AI เลยเป็นสิ่งที่ดี และควรเป็นสิ่งที่บังคับใช้ตามกฏหมายในบางกรณี ตัวอย่างเช่น ด่านศุลกากรสหรัฐฯ ต้องมีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการจดจำใบหน้า

ปัญหาคือ ทางเลือกแบบนี้มักหายาก คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามีอยู่ และเป็นการผลักภาระให้ตัวบุคคลมากเกินไป ซึ่งทำให้หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการสนับสนุนทางเลือกดังกล่าวให้มากขึ้นในสถานการณ์ที่ใช้ AI

 
 
bottom of page