ในยุค Digital Transformation ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การลงนามในเอกสารต่างๆ ก็ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้นตามไปด้วย การลงลายมือชื่อดิจิทัล หรือ Digital Signature นับเป็นวิถีใหม่ของการลงนามเอกสารที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากจะสะดวก รวดเร็ว ยังมีความปลอดภัยสูงและมีผลทางกฎหมาย เหมาะอย่างยิ่งกับการทำธุรกรรมออนไลน์ในยุคปัจจุบัน
Digital Signature คืออะไร? Digital Signature คือ ลายเซ็นหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาทำการเข้ารหัส (Encrypt) ด้วยระบบกุญแจคู่ (Public Key Infrastructure หรือ PKI) โดยผู้ลงนามจะต้องมีใบรับรอง (Digital Certificate) ที่ออกโดยผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ เพื่อยืนยันตัวตนของเจ้าของลายเซ็นนั้นๆ
Digital Signature จึงมีความปลอดภัยสูงกว่าลายเซ็นแบบอื่นๆ เพราะมีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้
สามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้ลงนามได้ (Signer Authentication) ว่าใครเป็นผู้ลงนามกำกับในเอกสารนั้นจริง
รับประกันความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสาร (Data Integrity) โดยสามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกแก้ไขหลังการลงนามหรือไม่
ป้องกันการปฏิเสธความรับผิด (Non-Repudiation) เนื่องจากผู้ลงนามไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่ได้เป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้น
แล้ว Digital Signature ต่างจาก e-Signature อย่างไร? e-Signature หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แทนลายมือชื่อจริง อาจอยู่ในรูปแบบข้อความ อักขระ ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง ภาพ หรือรหัส ซึ่งสร้างขึ้นด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และนำมาใช้เพื่อระบุตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นๆ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
ส่วน Digital Signature เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาเข้ารหัสด้วยระบบ PKI เท่านั้น โดยมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือสูงกว่า e-Signature ด้วยการเข้ารหัสแบบสองชั้น และใช้ใบรับรองจากผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล จึงยากต่อการปลอมแปลงและพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ได้
อย่างไรก็ตาม ทั้ง e-Signature และ Digital Signature ต่างก็มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการลงนามบนเอกสารจริง จึงสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมออนไลน์กับหน่วยงานรัฐและเอกชนได้ แต่องค์กรส่วนใหญ่จะเลือกใช้ Digital Signature กับเอกสารที่มีความสำคัญสูง เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและการโต้แย้งในภายหลัง
ประโยชน์ของ Digital Signature มีอะไรบ้าง? การลงนามเอกสารด้วย Digital Signature นอกจากจะสะดวก รวดเร็ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านคอมพิวเตอร์หรือมือถือแล้ว ยังมีประโยชน์หลายด้าน ได้แก่
ลดค่าใช้จ่าย ด้วยการลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์ ต้นทุนจัดส่ง และพื้นที่จัดเก็บเอกสาร
เพิ่มความปลอดภัย ด้วยระบบ PKI ที่เข้ารหัสข้อมูล ยืนยันตัวตน และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงเอกสาร
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการตัดต้นไม้ทำกระดาษ ลดการเดินทาง ลดการปล่อยคาร์บอน
ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ด้วยการลดการสัมผัสและใกล้ชิดระหว่างบุคคล ช่วยป้องกัน COVID-19
อยากลงนามด้วย Digital Signature ต้องทำอย่างไร? หากองค์กรของคุณต้องการลงนามด้วย Digital Signature บริษัท ALPHASEC พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำบริการตามความต้องการของคุณ ตั้งแต่การจัดทำใบรับรอง (Digital Certificate) ไปจนถึงการรับมือหากเอกสารหรือลายเซ็นถูกปลอมแปลงโดยบุคคลที่สาม
コメント