ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังท้าทายกฎหมายแบบเดิมๆ ถึงเวลาที่กฎหมายต้องปรับตัว การปรับเปลี่ยนนี้จำเป็นต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับพัฒนาการของ AI ในขณะเดียวกัน กฎหมายจะช่วยกำหนดทิศทาง AI ด้วยการออกกฎเกณฑ์และข้อจำกัดใหม่ๆ
ในมุมมองทางกฎหมาย AI ส่วนใหญ่มักถือเป็นงานลิขสิทธิ์ประเภทเดียวกับซอฟต์แวร์ และได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ในบางกรณีอาจได้รับการคุ้มครองจากสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ด้วย ทว่า สิทธิบัตรซอฟต์แวร์ AI ยังมีข้อถกเถียงเรื่องระดับการคุ้มครอง เนื่องจากมีช่องทางโดนละเมิดผ่านรูปแบบการพัฒนาต่อเนื่องและการปรับแต่งโดยผู้ใช้
ระบบ AI ที่อยู่ในรูปซอฟต์แวร์ รวมถึงที่ฝังอยู่ในอุปกรณ์อย่างหุ่นยนต์ จะถือเป็นผลิตภัณฑ์ โดยหลักการสินค้าทั่วไปควรตอบโจทย์มาตรฐานความปลอดภัย คุณภาพ และตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้ หากสินค้าชำรุด ทำงานไม่ถูกต้อง หรือสร้างความเสียหาย ทางผู้ผลิตอาจต้องรับผิด
ผู้เสียหายมีโอกาสยื่นฟ้องในข้อหาความรับผิดต่อความเสียหายของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความประมาท ดังนั้นผู้ผลิตและผู้ใช้งานระบบ AI ต้องระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดหรือความเสียหาย
อย่างไรก็ตาม การจะชี้ชัดว่าใครต้องรับผิดชอบอาจยุ่งยากในกรณีของระบบ AI ที่ผลิตตามสั่งผสมผสานองค์ความรู้ของผู้ผลิตเข้ากับรายละเอียดความต้องการของลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้น แต่ละแขนงที่นำ AI ไปใช้ (เช่น ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ) อาจมีข้อกำหนดความรับผิดเฉพาะตัว
การสร้างมาตรฐานความรับผิดต่อการกระทำผิดจะช่วยให้เห็นชัดเจนว่าใครต้องรับผิดชอบกับพฤติกรรมของ AI ข้อนี้ยิ่งสำคัญสำหรับระบบ AI ที่ทำงานค่อนข้างเป็นอิสระ เพราะการกระทำของ AI อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ร้ายแรงได้ ดังนั้น จึงมีคำแนะนำให้การทำงานของ AI เหล่านี้ยังคงต้องได้รับการควบคุมดูแลจากมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ
Comments